ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินทั่วประเทศไทยในแต่ละปีมีปริมาณเฉลี่ยปีละ 1,400 มม.หรือประมาณ 5 แสนล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากน้ำมีน้ำหนักมากกว่าอากาศ มันจึงไหลลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงโลก ซึมลงตามรอยแยกของหน้าดิน แทรกซึมตามช่องว่างของเม็ดดิน หิน ทราย กลายเป็นน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน บางส่วนก็ไหลออกมาตามช่องทางเปิด รวมกันมากเข้ากลายเป็นห้วย หนอง คลองบึง และแม่น้ำไหลออกสู่ทะเล

 

แต่เราสามารถออกแบบปากทางไหลของน้ำให้เดินทางลงสู่ชั้นหน้าดินและใต้ดินได้โดยการขุดหลุมบนหน้าดินที่ผู้เขียนตั้งชื่อว่า เขื่อนจิ๋ว(Microdam)ในขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ๆมีฝนตกลงมาได้ ซึ่งจะทำให้เป็นหลุมที่รองรับน้ำฝน ตะกอนดิน อินทรียวัตถุทั้งหลาย และเป็นที่หลุมหลบไฟของเศษใบไม้ กิ่งไม้ในพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟป่า

ารขุดหลุมดังกล่าวควรมีขนาดเล็กพอที่คนในพื้นที่ใช้เครื่องมือง่ายๆเช่นจอบ เสียม ขุดได้ด้วยกำลังคน มีขนาดกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึก 1.0 เมตร ก็จะสามารถเก็บน้ำฝนได้ถึง 196 ลิตรต่อฝนตก 1 ห่า แล้วซึมหายลงใต้ดินไปเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 วัน ในปีหนึ่งอาจมีฝนตกในจุดที่ทำเขื่อนจิ๋วไว้ถึง 10 ครั้ง ซึ่งจะทำให้เขื่อนจิ๋ว มีศักยภาพในการดักน้ำฝนไม่ให้ไหลผ่านเลยไปถึง 1.96 ลูกบาศก์เมตรโดยที่น้ำที่ไหลลงเขื่อนจิ๋วส่วนหนึ่งก็เก็บในรูปของน้ำซับเม็ดดิน(Capillary water) ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้ที่อยู่รอบเขื่อนจิ๋ว

 

หากสามารถสร้างเขื่อนจิ๋วกระจายไปเพียงร้อยละ 2 ในทุกพื้นที่ๆมีฝนตกลงมาของประเทศไทยที่มีพื้นที่รวม 320.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเสีย 122 ล้านไร่ จึงเหลือพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตรเหมาะกับการทำเขื่อนจิ๋วประมาณ 200 ล้านไร่ จากพื้นที่ 200 ล้านไร่ หากใช้พื้นที่สร้างเขื่อนจิ๋วร้อยละ 0.01 เราก็จะได้เขื่อนจิ๋วประมาณ 2 พันล้านหน่วย หรือมีศักยภาพในการดักเก็บน้ำฝนได้อย่างน้อย 400 ล้านลูกบาศก์เมตรโดยไม่ต้องรับความเสี่ยงจากหายนะจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และเขื่อนพัง

นอกจากนี้เขื่อนจิ๋วยังมีประโยชน์อื่นๆอีก เช่น

- เป็นหน่วยย่อยในการสลายพลังงานของน้ำที่จะรวมตัวเป็นมวลน้ำขนาดใหญ่ในฤดูฝน

- สามารถสร้างแนวกันไฟในพื้นที่เสี่ยงไฟป่าได้ดีขึ้น ลดการสูญเสียอินทรียวัตถุจากหน้าดิน

- ส่งเสริมระบบการเจริญของเชื้อราพึ่งพิง(Micorrhiza)ซึ่งช่วยลดความเครียดของต้นไม้ในหน้าแล้งและช่วยให้พืชสมุนไพรมีการผลิตสารสำคัญได้ดีขึ้น

- เป็นที่หลบภัยและเพาะเลี้ยงแมลง สัตว์ผิวดินที่จะกลายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนแก่ชาวบ้านและสร้างสมดุลของระบบนิเวศน์วิทยาในป่าได้ดีขึ้นฯ

เห็นประโยชน์แบบนี้แล้วลองมองรอบๆพื้นที่แล้วสร้างเขื่อนจิ๋วลองดูกันเถอะ