เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติ Ostional ในคอสตาริกาจะมีเต่าทะเลนับพันๆมาวางไข่ทุกปี  นักชีววิทยา วาเนสซา เบอร์ซี่ (Vanessa Bézy๗ ได้ศึกษาการมาถึงฝูงเต่านี้มาหลายปีแล้ว และ สามารถจับเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดเมื่อใช้โดรนบินสำรวจชายฝั่งนั้น

โดรนถูกนำมาใช้เพื่อศึกษาการสืบพันธุ์ของเต่าทะเล โดรนได้จับภาพเต่าหญ้า (olive ridley turtles) หลายพันตัวว่ายน้ำข้ามเขตจาก Ostional Refuge ประมาณการคร่าวๆน่าจะมีเต่าหนึ่งตัวต่อตารางเมตร Roldán Valverde ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ที่ Sea Turtle Conservancy, Florida, กล่าวถึงวิธีการถ่ายภาพฝูงเต่าทะเลบนชายฝั่งว่านี่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมากในมหาสมุทรเปิด
วาเนซ่า มุ่งความสนใจไปที่การศึกษาของเธอเกี่ยวกับเต่าทะเล เธอต้องการเพิ่มการรับรู้ทั่วโลกเกี่ยวกับสาเหตุที่เราต้องปกป้องสายพันธุ์นี้ และเธอหวังว่าภาพจากโดรนของฝูงเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดจะช่วยเธอในการรณรงค์เรื่องนี้ ในขณะที่เต่าหญ้าพบเห็นได้ในทั่วโลกพวกมันกับเหลือพื้นที่วางไข่น้อยลงทุกที
การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในสถานที่ต่างๆ ที่เต่าทำรังส่งผลกระทบต่อสายพันธุ์ เธอกล่าวว่าต้องมีระเบียบในสถานที่เพื่อปกป้องพื้นที่วางไข ลูกเต่าหญ้ามักจะมีอัตราการรอดชีวิตต่ำมากและส่วนใหญ่จะไม่โตเต็มที่ หากมนุษย์คุกคามประชากรกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องอีกพวกมันก็มีโอกาสที่จะสูญพันธ์มากขึ้น

 

ชนิดพันธุ์ เต่าทะเลทั่วโลกพบอยู่ 7 ชนิดด้วยกัน คือ เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) เต่าตนุ (Chelonia mydas) เต่าหลังแบน (Natator depressus) เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta) เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าหญ้าแคมป์ (Lepidochelys kempi) ในประเทศไทยพบเต่าทะเลเพียง 5 ชนิด จัดอยู่ใน 2 วงศ์ (Family) คือ เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า เต่าหัวค้อน และเต่ามะเฟือง