การบริจาคอวัยวะ กับ การบริจาคร่างกาย เป็นคนละเรื่องกันการบริจาคอวัยวะ คือการนำอวัยวะไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่ต้องการ โดยอวัยวะที่สามารถปลูกถ่ายได้คือ ไต 2 ข้าง ปอด 2 ข้าง หัวใจ ตับ ตับอ่อน และเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ เช่น ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ กระดูกและเส้นเอ็น รวมถึงกระจกตา (ต้องทำเรื่องบริจาคดวงตา👀 แยกจากการทำเรื่องบริจาคอวัยวะนะคะ) นี่เลยเป็นที่มาของการที่บอกว่า 1 ผู้ให้ สามารถช่วยผู้รับได้สูงสุดถึง 8 ชีวิต แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอวัยวะแต่ละส่วน และผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากกรณีสมองตายเท่านั้น

การบริจาคร่างกาย คือการบริจาคร่างกายเพื่อเป็น “อาจารย์ใหญ่” สำหรับการเรียนของนักศึกษาแพทย์🙏
ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ และมีอวัยวะครบ ส่วนใหญ่จะใช้ศึกษา 2 ปี หลังจากนั้นทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนั้น ๆ จะประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลให้

ผู้ที่ต้องการบริจาคร่างกายสามารถแสดงความจำนงได้ที่คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง โดยแต่ละแห่งจะมีเกณฑ์การรับอุทิศร่างกายที่ต่างกัน
ทีนี้เราก็จะเข้าใจชัดเจนแล้วว่า การบริจาคอวัยวะ กับการบริจาคร่างกาย เป็นคนละส่วนและต้องทำเรื่องขอบริจาคแยกกันนะคะ โดยเราสามารถทำเรื่องบริจาคทั้งสองอย่างได้ แต่เมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ ก็จะใช้ได้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งนะคะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุการเสียชีวิตและวิจารณญาณของแพทย์ค่ะ

 

#บริจาคให้เฉพาะญาติหรือระบุชื่อผู้รับบริจาคได้มั้ย

☑️การเจาะจงบริจาคอวัยวะให้ญาติ ทำได้ในกรณีที่ผู้บริจาคยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น และสามารถบริจาคได้แค่บางอวัยวะ เช่น ไต 1 ข้าง ตับ ไขกระดูก เป็นต้น โดยต้องให้กับญาติโดยสายเลือด หรือคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือมีลูกด้วยกันเท่านั้น
☑️หากเป็นกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตจากภาวะสมองตาย จะไม่สามารถระบุให้นำอวัยวะไปให้ญาติหรือคนในครอบครัวได้ เพราะศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย จะจัดสรรอวัยวะให้กับผู้รออย่างเสมอภาค และถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยผู้รอรับอวัยวะที่มีอาการป่วยหนักจะได้รับการจัดสรรให้ก่อน แต่ก็ต้องพิจารณาจากหมู่เลือด ความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ ระดับภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อ ระยะเวลาที่รออวัยวะ และอายุผู้ป่วยด้วย

 

#คนไทยยังบริจาคอวัยวะกันน้อยมาก

- ปัจจุบันมีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ทั้งหมด 73,574 คน
- มีผู้ที่บริจาคไปแล้ว 218 คน
- มีผู้ได้รับการปลูกถ่าย 509 คน
- แต่มีผู้รออวัยวะ 6,311 คน

(ข้อมูลจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ณ วันที่ 30 ก.ย. 62)

ดูจากตัวเลขนี้แล้ว คนที่กำลังรออวัยวะอยู่ คงต้องรออีกกันอีกยาวเลยทีเดียว นี่แหละค่ะถึงต้องมีการสร้างความเข้าใจ เพื่อให้คนไทยหันมาบริจาคอวัยวะกันใหม่มากขึ้น แม้สำหรับคนส่วนใหญ่ นี่จะเป็นเรื่องที่ทำใจยากอยู่ซักหน่อย แต่เราก็รู้กันดีอยู่ ว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติที่ใครก็หนีไม่พ้น ก็ต้องขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะเข้าใจและยอมรับได้เร็วกว่ากัน

 

#มาเช็กกันว่าใครทำเรื่องบริจาคอวัยวะได้บ้าง

- อายุไม่เกิน 65 ปี
- สุขภาพแข็งแรง
- ไม่เป็นโรคติดเชื้อ โรคเรื้อรัง และโรคมะเร็ง
- เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย (กรณีบริจาคเมื่อเสียชีวิต)
- ควรได้รับความยินยอมจากครอบครัว

 

#ช่องทางบริจาคอวัยวะ

ยังไงก็ตามปัจจุบันก็มีคนที่เข้าใจมากขึ้น และช่องทางในการบริจาคก็สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อนมากด้วย โดยเพื่อนๆ สามารถเลือกช่องทางที่สะดวกที่สุดได้ตามนี้เลยค่ะ
.
📌บริจาคผ่านแอปพลิเคชั่น “บริจาคอวัยวะ” ดาวน์โหลดได้ที่ App Store และ Play Store ในแอปได้รวบรวมข้อมูลและเรื่องควรรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะไว้อย่างครบถ้วน และยังสามารถกรอกข้อมูลแสดงความจำนงเพื่อบริจาคอวัยวะได้เลยอีกด้วย🙂 อันนี้เป็นช่องทางใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานนี้เอง📣📣📣
.
📌ติดต่อด้วยตนเองที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์
.
📌โทร. 1666 เพื่อขอรับเอกสารทางไปรษณีย์ เมื่อได้รับแล้วก็กรอกเอกสาร และส่งกลับไปที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
.
📌ดาวน์โหลดเอกสารที่ www.organdonate.in.th เมื่อกรอกเสร็จแล้วส่งเอกสารไปที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
.
📌ขอแบบฟอร์มได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด สำนักงานเหล่ากาชาด และสำนักงานกิ่งกาชาดอำเภอทั่วประเทศ
.
📌แจ้งความจำนงได้ตอนทำบัตรประชาชนใหม่ ที่สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ

 


.
การบริจาคในทุกช่องทางนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ทำเรื่องเรียบร้อย ก็จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะ 💳 มาให้เราตามที่อยู่ที่ระบุไว้ และที่สำคัญ เราควรแจ้งญาติให้รับทราบเอาไว้ด้วย🗣 เพราะแม้เราจะทำเรื่องไว้แล้ว แต่หากญาติไม่ยินยอม ก็ถือว่าการบริจาคนั้นเป็นอันยกเลิกนะคะ
.
.
ปัจจุบันศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ได้รับอวัยวะจากผู้แจ้งความจำนงบริจาคเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นเอง❗️❗️❗️ เพราะทางญาติไม่ทราบหรือไม่ยินยอม เพราะฉะนั้นหากเรามีความตั้งใจที่ดีแล้ว ก็ควรจะอธิบายให้ญาติๆ ได้รับรู้และเข้าใจถึงความตั้งใจของเราเอาไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ
.
เห็นมั้ยคะว่าการบริจาคอวัยวะไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด
แต่ที่ยุ่งน่าจะเป็นที่ความคิดของเราเองมากกว่า 😓
เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจ และอาจจะขัดกับความเชื่อหลายๆ อย่าง แต่ถ้าเราเชื่อมั่นในการให้ และความดี
การให้ครั้งนี้ จะเป็นการเสียสละที่มีคุณค่าอย่างที่สุดเลยค่ะ 🙏❤️❤️❤️
.
สำหรับเพื่อนๆ ที่ทำเรื่องบริจาคไว้แล้ว👏 มีความรู้สึกยังไงกันบ้าง มาแชร์ให้คนที่กำลังตัดสินใจอยู่ได้อ่านกันหน่อยมั้ยคะ🙂❤️
.
#บริจาคอวัยวะ #ศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก #ธนาคารจิตอาสา #JitarsaBank #สสส